Virtual Private Network (VPN) เครือข่ายเสมือนส่วนตัวที่ทำงาน โดยใช้โครงสร้างของเครือข่ายสาธารณะหรืออาจจะวิ่งบนเครือข่ายไอพีก็ได้ แต่ยังสามารถคงความเป็นเครือข่ายเฉพาะขององค์กรได้ด้วยการเข้ารหัสแพ็กแก็ตก่อนการส่ง เพื่อให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น VPN เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคารที่กำลังเป็นที่สนใจและเริมนำไปใช้ในหน่วยงานที่มีหลายสาขาหรือมีสำนักงานกระจัดกระจายอยู่ในหลายภูมิภาค ในระบบ VPN การเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานโดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตแทนการต่อเชื่อม Leased line หรือ FrameRelay
VPN จะครอบคลุม
1.อุปกรณ์ฮาร์แวร์
2.ซอฟต์แวร์
3.ส่วนที่เป็นไฟร์วอลล์
4.การเข้ารหัสแพ็กเก็ต เพื่อทำให้ข้อมูล มีความปลอดภัย
Type of VPN
1.Remote-access
2. Site-to-Site
2.1 Intranet-based
2.2 Extranet-based
1.Remote-access VPNDN เป็นการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายเดียวกัน สามารถทำการเชื่อมต่อระหว่าง Users ที่ไม่ได้อยู่ที่องค์กรหรือบริษัท เข้ากับ Server โดยผ่านทาง ISP อนุญาตให้ Users สามารถทำการเชื่อมต่อกับองค์กรหรือบริษัท เมื่อไรก็ได้ตามต้องการ
2. Site-to-Site เป็นการติดต่อระหว่างเครือข่ายหลายเครือข่าย เช่น บริษัทสำนักงานใหญ่ที่ กรุงเทพฯ ต้องการตดต่อกับบริษัทสาขาที่เชียงใหม่ โดยจะเชื่อมต่อผ่านทางเครือข่ายสาธารณะ
วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กลุ่มที่ 4 Lan View
โปรแกรม LabVIEW
เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการวัดและเครื่องมือวัดสำหรับงานทางวิศวกรรม LabVIEW ย่อมาจาก Laboratory Virtual Instrument Engineering Workbench ซึ่งหมายความว่าเป็นโปรแกรมที่สร้างเครื่องมือวัดเสมือนจริงในห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรม ดังนั้นจุดประสงค์หลักของการทำงานของโปรแกรมนี้คือการจัดการในด้านการวัด และเครื่องมือวัดอย่างมีประสิทธิภาพ และในตัวของโปแกรมจะประกอบไปด้วยฟังก์ชันที่ใช้ช่วยในการวัดมากมาย และแน่นอนที่สุดโปรแกรมนี้จะมีประโยชน์อย่างสูงเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมือวัดทางวิศวกรรมต่าง ๆLabVIEWเป็นโปรแกรมที่ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนการเขียนด้วยตัวอักษรเหมือนโปรแกรมปกติทั่วไป ซึ่งข้อดีข้อแรกก็คือการลดความผิดพลาดด้านการสะกดผิดหรือพิมพ์ผิดออกไป ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งที่สำคัญของการเขียนโปรแกรมแบบ G กับการเขียนด้วยตัวหนังสือก็คือ การเขียนด้วยภาษา G นี้เป็นการเขียนโดยใช้หลักการของ Data Flow ซึ่งเมื่อเร่มส่งข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม เราจะต้องกำหนดทิศทางไหลของข้อมูลว่าจะไปที่ส่วนใด ผ่านการประเมินผลและคำนวณในส่วนใดบ้าง และจะให้แสดงผลอย่างไร ซึ่งลักษณะการเขียนภาษา G หรือ Data Flow นี้จะมีลักษณะเหมือนกับการเขียน Block Diagram ซึ่งทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถให้ความสนใจกับการเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องจดจำรูปแบบคำสั่งที่ยุ่งยากเนื่องจาก LabVIEW ใช้ลักษณะการเขียนแบบ Block Diagram ซึ่งวิศวกรส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยอยู่แล้ว จึงเป็นการง่ายที่จะทำความเข้าใจและนำไปพัฒนาใช้ต่อไปได้ และถ้าหากเราจำได้ถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมว่าก่อนที่จะเขียนโปรแกรม เราควรจะต้องเขียน Flow Chart ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน หลักจากตรวจสอบ Flow Chart เรียบร้อยแล้วเราจึงนำไปเขียนโปรแกรม ดังนั้นเราจะมีความสะดวกมากขึ้นถ้าหากการเขียน Flow Chart ของ LabVIEW ก็คือการเขียนโปรแกรมนั่นเอง ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนการทำงานลงไปได้เป็นจำนวนมากแม้ว่าการเขียนโปรแกรมใน LabVIEW ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมใด ๆ มาก่อนเลย แต่การมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการวัดและเครื่องมือวัดสำหรับงานทางวิศวกรรม LabVIEW ย่อมาจาก Laboratory Virtual Instrument Engineering Workbench ซึ่งหมายความว่าเป็นโปรแกรมที่สร้างเครื่องมือวัดเสมือนจริงในห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรม ดังนั้นจุดประสงค์หลักของการทำงานของโปรแกรมนี้คือการจัดการในด้านการวัด และเครื่องมือวัดอย่างมีประสิทธิภาพ และในตัวของโปแกรมจะประกอบไปด้วยฟังก์ชันที่ใช้ช่วยในการวัดมากมาย และแน่นอนที่สุดโปรแกรมนี้จะมีประโยชน์อย่างสูงเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมือวัดทางวิศวกรรมต่าง ๆLabVIEWเป็นโปรแกรมที่ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนการเขียนด้วยตัวอักษรเหมือนโปรแกรมปกติทั่วไป ซึ่งข้อดีข้อแรกก็คือการลดความผิดพลาดด้านการสะกดผิดหรือพิมพ์ผิดออกไป ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งที่สำคัญของการเขียนโปรแกรมแบบ G กับการเขียนด้วยตัวหนังสือก็คือ การเขียนด้วยภาษา G นี้เป็นการเขียนโดยใช้หลักการของ Data Flow ซึ่งเมื่อเร่มส่งข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม เราจะต้องกำหนดทิศทางไหลของข้อมูลว่าจะไปที่ส่วนใด ผ่านการประเมินผลและคำนวณในส่วนใดบ้าง และจะให้แสดงผลอย่างไร ซึ่งลักษณะการเขียนภาษา G หรือ Data Flow นี้จะมีลักษณะเหมือนกับการเขียน Block Diagram ซึ่งทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถให้ความสนใจกับการเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องจดจำรูปแบบคำสั่งที่ยุ่งยากเนื่องจาก LabVIEW ใช้ลักษณะการเขียนแบบ Block Diagram ซึ่งวิศวกรส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยอยู่แล้ว จึงเป็นการง่ายที่จะทำความเข้าใจและนำไปพัฒนาใช้ต่อไปได้ และถ้าหากเราจำได้ถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมว่าก่อนที่จะเขียนโปรแกรม เราควรจะต้องเขียน Flow Chart ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน หลักจากตรวจสอบ Flow Chart เรียบร้อยแล้วเราจึงนำไปเขียนโปรแกรม ดังนั้นเราจะมีความสะดวกมากขึ้นถ้าหากการเขียน Flow Chart ของ LabVIEW ก็คือการเขียนโปรแกรมนั่นเอง ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนการทำงานลงไปได้เป็นจำนวนมากแม้ว่าการเขียนโปรแกรมใน LabVIEW ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมใด ๆ มาก่อนเลย แต่การมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)